จันทร์ - ศุกร์9.00 - 17.30 น.
ที่ตั้งสำนักงาน125/55 ซอยวิภาวดีรังสิต 60 แยก 12 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
HomeCategory

Uncategorized

AI Literacy ตอนที่ 5: การประเมิน AI อย่างมีวิจารณญาณ

AI Lieteracy มีองค์ประกอบที่ว่าด้วยการใช้ AI ในการทำงานอย่างมีวิจารณญาณ เพราะ AI จะมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจและให้ข้อมูล การวิเคราะห์วิจารณ์และประเมินความน่าเชื่อถือของผลลัพธ์ที่ได้จาก AI เป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยที่เราจะต้องการวิเคราะห์วิจารณ์ AI หลากหลายแง่มุม ได้แก่ ความเข้าใจในแหล่งที่มาของข้อมูล เพราะ AI เรียนรู้จากข้อมูลที่ใช้ฝึกฝน การตรวจสอบแหล่งที่มาและคุณภาพของข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเช่น หากข้อมูลมาจากแหล่งที่มีอคติหรือไม่ครอบคลุม ผลลัพธ์ของ AI ก็อาจมีปัญหาเช่นกัน การตระหนักถึงอคติ (Bias) จากการที่ AI อาจมีอคติที่แฝงอยู่ ซึ่งอาจเกิดจากข้อมูลที่ใช้ฝึกฝนหรือการออกแบบอัลกอริทึม เราควรตั้งคำถามว่าผลลัพธ์ที่ได้มีความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติหรือไม่ การเข้าใจข้อจำกัด เนื่องจาก AI มีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจบริบทและนัยยะที่ซับซ้อน การตระหนักถึงข้อจำกัดนี้ช่วยให้เราไม่เชื่อถือผลลัพธ์จาก AI โดยไม่มีการตรวจสอบ การตรวจสอบความถูกต้อง ให้เปรียบเทียบผลลัพธ์จาก AI กับแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นๆ หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องใช้ในการตัดสินใจสำคัญ การเข้าใจกระบวนการ พยายามทำความเข้าใจว่า AI มาถึงผลลัพธ์นั้นได้อย่างไร แม้ว่าบางครั้งอาจเป็นเรื่องยาก (black box problem) แต่การพยายามเข้าใจกระบวนการช่วยให้เราประเมินความน่าเชื่อถือได้ดีขึ้น การพิจารณาความเหมาะสมของการใช้ AI ไม่ใช่ทุกสถานการณ์ที่ AI จะเหมาะสมที่สุด บางครั้งการตัดสินใจของมนุษย์อาจเหมาะสมกว่า โดยเฉพาะในเรื่องที่ต้องการความเข้าใจเชิงอารมณ์หรือจริยธรรม การตั้งคำถาม ต้องฝึกตั้งคำถามกับผลลัพธ์ที่ได้จาก...

Data Governance ตอนที่ 3: หลักการและกรอบการทำงานของธรรมาภิบาลข้อมูล

การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นผลลัพธ์จากการปฏิบัติตามหลักการที่ชัดเจนและการใช้กรอบการทำงานที่เป็นระบบ หลักการและกรอบการทำงานเหล่านี้ทำให้ธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance – DG) กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระเบียบและปลอดภัย   หลักการสำคัญของธรรมาภิบาลข้อมูล การทำธรรมาภิบาลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักการสำคัญหลายประการ ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวทางในการตัดสินใจและการจัดการข้อมูลภายในองค์กร หลักการเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงและความน่าเชื่อถือในกระบวนการจัดการข้อมูล ความรับผิดชอบ (Accountability) การมีระบบความรับผิดชอบที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่สำคัญใน DG ทุกฝ่ายในองค์กรต้องมีความเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวม การจัดเก็บ การใช้ หรือการแบ่งปันข้อมูล การกำหนดความรับผิดชอบที่ชัดเจนจะช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีระเบียบ ลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาด และเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน เช่น การกำหนดบทบาทและหน้าที่ที่ชัดเจนในการจัดการข้อมูล เช่น Data Owner, Data Steward, Data Custodian การสร้างกระบวนการตรวจสอบและรายงานผลการจัดการข้อมูล และการจัดตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลเพื่อกำกับดูแลนโยบายและการปฏิบัติ ซึ่งจะมีประโยชนเพราะลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน เพิ่มความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา และสร้างวัฒนธรรมการรับผิดชอบต่อข้อมูล ความโปร่งใส (Transparency) การจัดการข้อมูลต้องมีความโปร่งใส ทุกคนในองค์กรควรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานของตนเองได้ และควรมีความชัดเจนในเรื่องของวิธีการจัดการข้อมูล การมีระบบที่โปร่งใสจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในองค์กร และทำให้การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น การจัดทำ Data Catalog ที่ระบุแหล่งที่มา การใช้งาน และผู้รับผิดชอบของข้อมูลแต่ละชุด การกำหนดกระบวนการขอเข้าถึงข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นธรรม การสื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลให้ทุกคนในองค์กรรับทราบ ซึ่งจะทำให้เกิดสร้างความไว้วางใจ ส่งเสริมการใช้ข้อมูลร่วมกัน...